วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ (ของการส่งไก่เข้าประกวด
เจ้าของฟาร์มเองจ้าเท่ห์ไหม
ไก่พันธุ์อะไรครับ
ไก่ชนอเมริกันจ้า
ไก่ชนอังกฤษ
ไก่ชนอินเดียครับ
ไก่เวียดนาม
ไก่ชนสุมาตรา
ไก่ชนพม่าร้อย

ไก่ชนใต้หวัน

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


ไก่ประเทศต่างเอามาฝาก ประเทศญี่ปุ่น

ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว

ไก่เทา หรือไก่สีเทา หรือไก่เถ้า มีแหล่งกำเนิดทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก, อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และแถบภาคอีสานจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ไก่เทาเป็นไก่ขนาดกลางน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กก. ตัวเมียประมาณ 2-3 กก.
ลำตัว ไก่เทามีลำตัวสองลักษณะ คือ รูปร่างเพรียวบางยาวระหง กับล้ำเตี้ยรูปหัวปลีและเบี้ยจั่น ลำตัวกลม หางยาวทรงฟ่อนข้าวและทรงหางม้า
ใบหน้า กลมกลึง หน้าแบบหน้านก หน้ากา
ปาก ปากใหญ่ยาว ปลายปากงุ้ม มีร่องน้ำลึกทั้งสองข้าง ปากสีขาวอมเหลืองรับกับสีแข้ง เล็บ เดือย
จมูก รูจมูกโปร่งกว้าง สันจมูกเรียบติดกับปากสีเดียวกับปาก
ตา สีตาขาวอมเหลือง มีเส้นเลือดในตาขาวเด่นชัด ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ดวงตาแจ่มใส
หงอน เป็นหงอนหินหรือหงอนสามแฉก หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง กอดรัดกระหม่อม
หู ตุ้มหูรัดตรึง ไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย
เหนียง เหนียงรัดตรึงติดกับคาง ไม่มีแปะหย่อนยาน สีเดียวกับหงอน
กะโหลก ยาว2ตอน ตอนหน้าเรียวยาวเล็กว่าท่อนหลัง มีรอยไขหัวกลางกะโหลก
คอ คอยาวรูปเคียว ปล้องคอชิดแน่น สร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ สีเดียวกับสร้อยหลังยาวไปต่อกับสร้อยหลังพอดี
ปีก ปีกใหญ่และยาว เป็นปีกลอนเดียวไม่ห่างไม่โหว่ ปีกสีเทาเหมือนขนพื้นตัว สร้อยหัวปีกสีเดียว กับสร้อยคอและสร้อยหลัง
ตะเกียบ ชิดตรง
หาง หางพัดยาวเรียบเป็นระเบียบสีเทาเดียวกับขนพื้นตัวหรือหางกระรวยสีขาวปนเทา หางทรง ฟ่อนข้าว พลูจีบ หรือหางม้า ขั้วหางใหญ่มีกระปุกน้ำมันใหญ่และอันเดียว
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ กลมกลึง แข้งเรียวกลมกลึงแบบลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก ขนปั้นขาสีเทา
เกล็ด เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองรับกับสีปาก เกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบแถว จระเข้ขบฟันหรือปัด ตลอดจะมีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ ไชบาดาล และอื่นๆ
นิ้ว เรียวยาว ปุ่มนิ้วมีตัวปลิง เกล็ดนิ้วมีแตกมีแซม เล็บนิ้วจะสีเดียวกับนิ้วหรือปาก หรือแข้ง
เดือย เดือยแหลมคมแบบเดือยงาช้าง ฐานเดือยมั่นคง
ขน ขนพื้นตัวสีเทาตามพันธุ์ ขนปีกขนหางพัดสีเทา ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสี เดียวกันตามพันธุ์ เช่น ดำ ประดู่ ขี้เถ้า ทองแดง หรือเหลืองทอง
กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่สง่างามอีกพันธุ์หนึ่ง ยืนเดินทะมัดทะแมง ยืนตัวตรงเล่นสร้อยกระพือปีกตลอดเวลา มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า



สายพันธุ์ไก่เทาหางขาวพันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ 6 พันธุ์ คือ
1.ไก่เทาทองคำหรือเทาฤาษี เป็นไก่เทายอดนิยมอันดับหนึ่งเหนือไก่เทาอื่นใด ไก่เทาทองหรือเทาเหลืองที่โด่งดังเป็นไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากชนชนะไก่มากมาย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองคำคือ ขนพื้นตัวสีเทาอ่อนแบบขี้เถ้าฟืน ขนปีกขนหางพัดสีเทาแบบสีพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสีเหลืองทอง แบบเหลืองหางขาว ขนกระรวยโคนเทาปลายขาวหรือกระรวยคู่กลางขาวปลอด ปาก แข้งเล็บ เดือยสีขาวอมเหลืองรับกัน ขนปิดหูสีเหลืองทอง ตาสีขาวอมเหลืองแบบสีปลาหมอตายคล้ายไก่เหลืองหางขาวมาก
2.ไก่เทาทองแดง เป็นไก่เทาอันดับสองรองจากไก่เทาทองคำ ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองแดง ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ก้านขนจะแดง ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาปลายขาว ก้านขนแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าสีทองแดงคล้ายไก่ทองแดง หางดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมแดง เกล็ดแข้งขอบเกล็ดสีแดงจะออกเข้มกว่ากลางเกล็ด ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตาสีแดง
3.ไก่เทาสวาด เป็นไก่เทาอันดับสามรองจากเทาทองแดง ลักษณะเด่น ประจำพันธุ์เทา ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบลูกสวาด หรือสีเหมือนแมวสีสวาด หรือแมวโคราช ขนกระรวยสีโคนขนสีสวาด ปลายขนสีขาว ขนปิดหู สีเทาสวาดเข้ม กว่าสีพื้นตัว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ขอบเกล็ดสีเทา ตาสีเหลืองไพล
4.ไก่เทาหม้อ เป็นไก่เทาอันดับสี่รองจากเทาสวาด ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เทาหม้อ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด สีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาปลายขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาแก่แบบสีมะขามไหม้ ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
5.ไก่เทาขี้เถ้า เป็นไก่เทาอันดับห้ารองจากเทาหม้อ บางแห่งเรียกว่าเทาเงินยวง ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาอ่อนแบบสีขี้เถ้าฟืน สีไก่แจ้ดอกหมากหรือสีนกพิราบ หางกระรวยโคนขนสีเทาปลายขนขาวค่อนข้างมาก ขนปิดหูสีเทาอ่อน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ตาสีขาวขุนแบบควันไฟ
6.ไก่เทาดำ เป็นไก่เทาอันดับหกรองจากไก่เทาขี้เถ้า ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาแซมขาวเล็กน้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีดำ บางคนเรียกเทาขี้ควาย ปากแข้ง เล็บ เดือยและตาสีดำคล้ำ

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่เทาหางขาวเพศเมีย
ไก่เทาเพศเมีย มีรูปร่างเพรียวบางสูงระหง คอคางรัด หน้าแหลมกลมกลึงแบบหน้านก ลำตัวยาวกลมจับยาวสองท่อน ขนพื้นตัวและขนหลังเส้นเล็กละเอียดเรียงกันเป็นระเบียบ กระเบนหางรัด สีขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหางและขนคอ เป็นสีเทาเหมือนกันทั้งตัว สีจะแก่-อ่อนต่างกันตามสายพันธุ์เหมือนขนพื้นตัวของตัวผู้ ส่วนที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด คือ ขนสร้อยคอจะมีขลิบสีไปตามสายพันธุ์เหมือนขนสร้อยคอตัวผู้ เช่น เทาทองคำจะมีขนขลิบเหลือง เทาทองแดงจะมีขนขลิบสีแดง เทาสวาดหรือเทาเรือรบจะมีขลิบสีเทา เทาหม้อหรือเทาประดุ่จะมีขนขลิบสีประดู่ เทาขี้ถ้าหรือเทาเงินยวงหรือเทานกพิราบจะมีขนขลิบสีขาว เทาขี้ควายหรือเทาดำสีตาจะเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองและแดงเหมือนตัวผู้เช่นกัน

<

ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ

ไก่นกกรด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่า เป็นไก่ชนดุดันไม่กลัวใคร ไก่นกกรดเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่พม่า โปรดให้พระน้องยาเธอสมเด็จพระเอกาทศรถนำไก่กรดไปชนหน้าพระที่นั่ง ได้ชนะไก่พม่า และได้อยู่เป็นพ่อพันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน
แหล่งกำเนิด ไก่นกกรดมีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่ง ไก่ดัง จะอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่งไก่ดังจะอยู่แถวๆ นครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร สุพรรณบุรี เพชรบูรณ์ เป็นต้น ประเภท ไก่นกกรดเป็นไก่ขนาดกลาง ตัวผู้น้ำหนักโดยเฉลี่ย ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย ประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง ลูกเจี๊ยบแดงลายลูกหมูป่า หรือลายกระถิก ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนหัวสีแดง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้



รูปร่างลักษณะไก่นกกรด เป็นไก่รูปทรงงดงามอีกพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงหงส์ ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่ยาวอยู่เสมอ หางยาวเป็นพลูจีบหรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่คอยาว
ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้มสีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย
จมูก จมูกกว้าง ฝาปิดจมูกเรียบ รูจมูกกว้าง มีสีเดียวกับปาก
หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอด
หู-ตุ้มหู ขนปิดหู สีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้าดูกระชับไม่หย่อนยาน
เหนียง เหนียงรัดรึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนหงอน
กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวชัดเจน
คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียว แบบคอม้า กระปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ
ปีก ปีกยาวใหญ่ ไม่โหว่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขน ปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ
ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็ง ชิดและขนานกัน
หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกะลวย ดกยาวสีแดง หางเป็นลักษณะฟ่อน ข้าวหรือพลูจีบ
แข้งขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย
เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก มักมีเกล็ดพิฆาตสีเดียวกับแข้ง
นิ้ว นิ้วยาวเรียวกลม ใต้นิ้วมีตัวปลิงชัดเจน เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นเกล็ดพิฆาต สีเดียวกับแข้ง
เดือย เป็นเดือยงาช้างหรือเดือยลูกปืนสีเดียวกับแข้งและปาก
ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีแดงอมน้ำตาลเข้ม แบบสีแมลงสาบ
กิริยาท่าทาง ไก่นกกรดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้ง เปล่าเป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใคร



ไก่นกกรด แบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
1. นกกรดแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู สีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง ตัวนี้เป็นตัวนิยม
2. นกกรดดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวย ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำ คล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดงเข้มอมดำ
3. นกกรดเหลือง ขนพื้นตัวสีดำ ปลายปีกสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่น ๆ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีเหลืองอมดำปนน้ำตาล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง
4. นกกรดกะปูด หรือบางคนเรียก กรดนาก กรดลาย ตอนเล็กจะมีลายดำอยู่ที่ปีก ขนพื้นตัวสีดำ ขนพัดขนกะลวยสีดำ ขนปีกสีเหมือนแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปีกหู สีแดงดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกะปูด

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่นกกรดเพศเมีย
ขนพื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสันหรือสร้อยคอสีน้ำตาล ขนปีก ขนหลัง สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกรดเฉดสีอะไรให้สังเกตดูที่สร้อยคอ จะเป็นขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้

ไก่ชนพันธุ์ทองแดงหางดำ

ไก่ชนสายพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้สมัยอยุธยา ตอนฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่ หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้นยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอ พระเอกาทศรถ นำไก่ไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วยไก่ทองแดงหางดำ ได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย
แหล่งกำเนิด ไก่ทองแดงหางดำ มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่ดังในอดีตที่ เพชรบุรี ราชบุรี อยุธยา ชลบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลอมแดง ลูกเจี๊ยบสีแดง ทั้งตัวแบบไก่โร้ดไอร์แลนด์เรด ปาก แข็ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดงอ่อน อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้



รูปร่างลักษณะไก่ทองแดงหางดำ มีรูปร่างทะมัดทะแมง ทรงหัวปลีกล้วย ช่วงไหล่กว้าง อกเป็นมัด มีกล้ามเนื้อลำตัวยาวจับกลม 2 ท่อน ไหล่หน้าใหญ่ บั้นท้ายโต ปั้นขาใหญ่แข็งแรง หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า
ใบหน้า แหลมกลมอูมแบบนกกา
ปาก ปากใหญ่แบบปากนกกา ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง
จมูก จมูกแบบราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง แคมหรือฝาปิดจมูกสีเดียวกับปาก
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี มีขอบตา 2 ชั้น ดวงตาสีแดง มีประกายแจ่มใส คิ้วขอบตานูนรับกับตา
หงอน หงอนเป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนเรียบสีแดงสดใส
ตุ้มหู ตุ้มหูรัดติดกับหูมีสีแดงเหมือนหงอน
เหนียง รัดกลมกลึงติดกับคาง บางตัวอาจมีเหนียงแลบออกมาเล็กน้อย สีแดงสดใสแบบหงอน และตุ้มหู
กะโหลก กะโหลกใหญ่และยาวเป็น 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอบไขหัวเห็นได้ชัดเจน
คอ คอใหญ่ยาวโค้งไปข้างหน้าแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดแน่นรับกับร่องไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับขนหลังขนสร้อยคอยาวประบ่า
ปีก ปีกใหญ่และยาวแน่น ขนปีกเรียงเป็นระเบียบ ไม่มีช่องโหว่ไขไชปีกจะมีสีดำแน่น จนปีกใน สีแดงเหมือนขนพื้นตัว
ตะเกียบ แข็งหนาและตรง
หาง หางพัดปลายมนกลม สีดำยาวไม่ต่ำกว่า 1 คืบ หางกะลวยเส้นเล็กกว่าหางพัดปลายแหลมยาว ไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต หางกะลวยดกเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า กระเบนหางใหญ่ชิดกับกระดูกสัน หลัง กระปุกน้ำมันใหญ่มีอันเดียว
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน มีขนสีแดงขึ้นเต็มถึงข้อขา แข้งสีเหลืองอมแดง แข้งกลมแบบลำหวายหรือ ลำเทียน
เกล็ด เกล็ดเป็นเกล็ดพัดใหญ่ ๆ เรียงเป็นระเบียบ 2-3 แถว สีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดสำคัญ เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรูหรือเกล็ดอื่นๆในไก่ตัวดีๆ
นิ้ว-เล็บ นิ้วกลมยาวเรียบแบบเล่มเทียน เล็บและเกล็ดสีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดนิ้วแตกเป็นเกล็ด พิฆาตเล็บเรียวแหลม จมูกเล็บแน่น
เดือย เป็นเดือยขนเม่นหรืองาช้าง สีเดียวกับแข้งและเกล็ด
ขน ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง จะมีสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้า ขนปิดหู จะมีสีแดงเป็นมัน ขนไชปีก ขนหางพัด หางกะลวยสีดำ
กิริยาท่าทาง ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ที่มีกิริยาท่าทางองอาจ ทะมัดทะแมงแบบไก่ประดู่หางดำ จะยืนเดินวิ่งชนดูคล่องแคล่วแข็งแรง จะยืนกระพือปีกตลอดเวลา เมื่อพบไก่อื่น ๆ จะแสดงท่าอาการต่อสู้เสมอ ไก่ทองแดงเป็นไก่ชนเชิงหลัก มัด ตั้ง กอด คุมตีบน ตีเท้าบ่าเป็นส่วนใหญ่



ไก่ทองแดงหางดำแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
1. ทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะมีสีเข้มแดงอมดำ ปากแข็ง เล็บเดือยสีเหลือง อมแดงอม ดำตาแดง ไก่ทองแดงใหญ่บางแห่งเรียกว่าไก่ทับทิม
2. ทองแดงตะเภาทอง ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มตามแบบไก่ตะเภาหรือสีแบบสีทองคำแท่ง ปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีเหลืองอมแดง ตาเหลืองอมแดง
3. ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ขนพื้นตัวขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้าย ๆ แดงใหญ่ แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลาย แดงดำ
4. ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ขนพื้นตัว ขนสร้อย จะสีแดงซีด ๆ แดงอ่อน ๆ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทอง

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่ทองแดงหางดำเพศเมีย
1. ขนพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง ก้น สีแดง
2. ขนคอ ขนหลัง ขนปีก สีแดงแก่กว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย
3. ขนสร้อยคอ จะมีแดงขลิบแลบออกมาเล็กน้อยตามเฉดสีแต่ละชนิด ขนปิดหูสีแดง
4. ขนไชปีก ขนหางพัดสีดำ ขนทับหางสีแดง
5. ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง จะเข้มหรืออ่อนตามเฉดสีพันธุ์ตาสีแดง
6. ไก่ทองแดงเพศเมียจะเป็นไก่ทรงรูปปลีกล้วย ไหล่หน้าจะใหญ่ ท้ายจะมนกลม กระโปรงหางจะรัดและยาวแบบตัวผู้

<



ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว

แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช
ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 - 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 - 3.00 กก.
สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว
ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้


รูปร่างลักษณะของประดู่เลาหางขาว เป็นไก่รูปร่างแบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืดท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก
ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น นัยน์ตาดำ ตารอบนอกสีเหลืองแก่แบบสีไพล เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
หงอน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
ตุ้มหู ตุ้มหูสีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลา เหมือนขนสร้อย
เหนียง เหนียงเล็กสีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบสีประดู่เลา
ปีก ปีกยาวใหญ่จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ ปีกท่อนนอกไชปีกขาว ปีกท่อนในไชปีกขาวปนดำ ปีกแน่นไม่เป็นร่องโหว่
ตะเกียบ ตะเกียบแข้งตรง ท้องแฟบรับกับตะเกียบ
หาง หางยาวดกเป็นระเบียบ สีขาวปนดำ หางพัดดำปลายขาว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปนดำ หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน
แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำ เป็นแข้งรูปลำเทียน ลำหวาย เกล็ดแข้ง 2 แถวเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก
เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
นิ้ว นิ้วยาวเป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
เดือย เดือยเป็นเดือยแบบลูกปืน หรือแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก และสร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
เล็บ มั่นคงแข็งแรง สีเดียวกับเกล็ดแข้งและปาก
สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีประดู่
กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดียว



ประดู่เลามี 4 เฉดสี คือ
1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ที่หัว-หัวปีก-ข้อขา มีกระขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนขนสีขาว ปลายขนสีเม็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือส้ม
4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่

<


เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง
ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง
หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย
ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย
หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี
ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน
เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง
รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว
อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง
หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน
ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร
คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่
ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น
สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง
สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า
สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น

--------------------------------------------------------------------------------

ไก่เหลืองหางขาว สมาคมฯได้กำหนดอุดมทัศนีย์ไว้ และประกาศรับรองพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด คือ
1. เหลืองใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเหลืองแก่ดังสีทองแท่ง ขนปีกในสีดำ ขนปีกนอกสีขาว ขนหางพัดสีดำปลายขาว ขนหางกะลวยสีขาวปลายดำ คู่กลางขาวปลอด ปาก-แข้ง-เล็บ-เดือย สีขาวอมเหลือง แบบสีงาช้าง ตาสีตาปลาหมอตาย (ขาวอมเหลืองอ่อน) ขนปิดรูสีเหลืองแบบสร้อย มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
2. ไก่เหลืองรวกพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองกลางดังสีทองทา หรือสีไม้รวกแก่แห้ง
3. ไก่เหลืองโสนพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว(ทองปิดพระ) หรือสีดอกโสน หรือดอกคูณ
4. เหลืองเลาพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนเหลืองใหญ่ เหลืองรวก เหลืองโสนทุกประการ ต่างกันตรงสร้อคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โดยโคนสร้อยจะเป็นสีขาว ปลายสร้อยจะเป็นสีเหลือง ส่วนไก่เหลืองพระเจ้า 5 พระองค์ตัวอื่นๆ โคนสร้อยจะเป็นสีดำปลายเหลือง
5. ไก่เหลืองทับทิม ลักษณะจะเหมือนเหลืองทั้ง 4 ที่กล่าวมา ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โคนสร้อย สีดำปลายสร้อยสีเหลืองมีจุดขาวอมเหลืองอยู่ปลายสร้อย เรียกว่า "ทับทิม หรือ ดาวเรือง" ไม่มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
6. ไก่เหลืองเอกา หรือบางทีเรียกเหลืองธรรมดา ลักษณะเหมือนไก่เหลืองทั้ง 5 ต่างกันตรงที่ไม่มีหย่อมกระ พระเจ้า 5 พระองค์ ไม่มีจุดทับทิมหรือดาวเรืองในสร้อย สีสร้อยมีทั้งแก่ กลาง อ่อน
ในไก่เหลืองหางขาวทั้ง 6 ชนิดนี้ เราถือว่าเป็นไก่เหลืองหางขาวเหมือนกันหมด ไม่มีตัวใดเหนือตัวใด แต่ในกลุ่ม พระเจ้า 5 พระองค์จะเป็นที่นิยมในคนเลี้ยงมากกว่า
ในการประกวดไก่เหลืองหางขาว ตามกฎ กติกา การประกวดและการตัดสิน ถือว่าไก่เหลืองหางขาวทุกตัวมี คุณค่าเท่าๆกัน จะแพ้ชนะกันอยู่ที่ความสวยงาม 5 ประการ คือ
1. หน้าตา ตัวสวยงามหน้าจะแหลม กลมยาว หัว 2 ตอน ปากใหญ่ จมูกเรียบ หงอนหินกอดกระหม่อม เหนียงคางรัดเฟ้ด ขอบตา 2 ชั้นโค้งรี สีตาปลาหมดตาย จะเป็นไก่ฉลาด
2. สีสัน ตัวสวยงาม สีขนพื้นตัว ขนปีกขนหางต้องถูกต้อง ขนสร้อยต้องเหลืองรับกันตลอดอย่างสม่ำเสมอ ขนแห้งสมบูรณ์มีน้ำขนจะเป็นไก่มีสกุล
3. รูปร่าง ตัวสวยงาม ต้องรูประหง สูงใหญ่ จับกลมยาว 2 ท่อน ใหล่หน้าใหญ่บั้นท้ายโตแบน ปั้นขาใหญ่ คอยาวปล้องคอชิดแน่นวงเดียว หางยาว พัดคืบกะลวยศอก อุ้งหางชิด ปีกใหญ่แน่นยาวไม่แกว่ง จะเป็นไก่แข็งแรง
4. แข้งขา-เกล็ด ตัวสวยงามต้องแข้งกลมเป็นลำเทียน ลำหวายหรือไม้คัด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ เป็นแถว เป็นแนว เป็นดอกเป็นดวง นิ้วยาวเรียวมีเกล็ดแตก เหน็บ แซม ที่นิ้วมาก เป็นเกล็ดพิฆาต เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู งูจงอาอง กากบาท ดอกจัน จักรนารายณ์ ขุนแผนสะกดทัพ จะเป็นไก่ตีเจ็บ
5. กิริยาชั้นเชิง ตัวสวยงาม ต้องยืน เดิน วิ่ง ท่าทางสง่าผ่าเผย เดินกำนิ้ว กระพือปีก เล่นสร้อย ส่งเสียงขัน ตลอดเวลา สัมผัสร่างจะมีเชิงนิยมจะเป็นไก่เหนือชั้นกว่าไก่อื่น
ไก่ทุกตัวไม่ว่าเหลืองไหน ถ้ามีคุณสมบัติความงามครบ 5 ประการ หรือมีมากที่สุด ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น คอดอก เห็บเสี้ยน เท้าหน่อ ขี้ขาว หวัด จะเป็นไก่ชนะได้รับรางวัล

<

สายพันธ์ไก่ชน





สายพันธุ์ไก่นกแดงหางแดง เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ทั่ว ๆ ไป แถบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงที่มีชื่อโด่งดังครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ หรือพระยาไชยบูลย์ผู้นิยมไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงเช่นกัน อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้
รูปร่างลักษณะไก่พันธุ์นกแดง มีรูปร่างลักษณะเป็นไก่ทรงปลีกล้วย ลำตัวกลม ไหล่หน้าใหญ่ หางทรงฟ่อนข้าวหรือทรงหางม้าใบหน้า ใบหน้ากลมกลืนแบบหน้านกกาปาก ปากใหญ่โคนปากมั่นคง มีร่องน้ำ 2 ข้าง สีปากเหลืองอมแดงรับกับสีแข้ง เล็บ เดือยจมูก จมูกสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ แคมหรือฝาจมูกสีเหลืองอมแดงตา ขอบตามี 2 ชั้น แบบตาวัว ขอบตาแจ่มใสสีแดง มีเส้นเลือดในดวงตาใหญ่ชัดเจนหงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก โค้งกลางกระหม่อมหู-ตุ้มหู ตุ้มหูรัดไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีแดง สีเดียวกับสร้อยคอกะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยในหัวชัดเจนคอ เป็นรูปคอม้า ปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอสีแดงสีเดียวรับกับสร้อยหลังและสร้อยปีกปีก ปีกใหญ่ยาวเป็นลอยเดียว ไม่ห่างโหว่ ขนปีกสีแดงด้าน ขนสร้อยปีกสีแดงสดสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังหาง หางพัดสีแดง หางกะลวยสีแดง ก้านหางสีแดง หางเป็นรูปหางม้า กระปุกน้ำมันเดียวแข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวกลมแบบลำเทียน ขนปั้นขาสีแดง แข้งสีเหลืองอมแดง รับกับสีปากเกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเหลืองอมแดง เป็นเกล็ดปัดตลอด มีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บเห็บใน ไชบาดาลและอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง นิ้ว นิ้วเรียวยาวเป็นลำเทียน เกล็ดนิ้วมักแตกมีเกล็ดพิฆาต สีเกล็ดเหลืองอมแดงรับกับแข้ง นิ้วเล็ก นิ้วสีเดียวกับแข้งเดือย เป็นเดือยงาช้าง สีเหลืองอมแดงรับกับปากและแข้งขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงตลอด ขนพัด ขนกะลวยสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังก้านขนสีแดง เรียกว่าแดงหมดทั้งตัวกิริยาท่าทาง ไก่นกแดงเป็นไก่สกุลเดียวกับไก่ทองแดง ไก่นกกรด มองไกล ๆ ดูคล้าย ๆ กัน เป็นไก่ สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง ท่าทางสง่างามมีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
ไก่นกแดงหางแดงพันธุ์แท้แต่โบราณมีอยู่ 4 สายพันธุ์1. แดงชาด เป็นสีแดงเข้มหรือแดงแก่ดั่งสีชาด ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดงเข้ม ขนปีก จนหางพัด หางกะลวย สีแดงเข้มเหมือนสีพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงเข้มสดใสเป็นมัน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง2. แดงทับทิม เป็นสีแดงสดใส สีอ่อนกว่าสีแดงชาด คล้ายทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวย สีแดงแบบขนพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง3. แดงเพลิง หรือบางแห่งเรียกแดงตะวัน เป็นสีแดงอ่อนกว่าแดงทับทิมออกไปทางสีแสด หรือแดงอมเหลือง ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวย สีแดงแบบขนพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง4. แดงนาก เป็นสีแดงคล้ำ ๆ แบบสีตัวนาก ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ถึงใต้ก้นเป็นสีแดงนาก ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวยสีแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีแดงออกมัน ตาสีแดง (ไก่นกแดงที่พบในปัจจุบัน มักจะกลายพันธุ์เป็นพวกแดงหางขาวก้านหางไม่แดง ตาไม่แดง)
ลักษณะประจำพันธุ์ไก่นกแดงหางแดงเพศเมียทรงปลีกล้วย ไหล่หน้าใหญ่ท้ายเรียว จับกลมยาว 2 ท่อน หน้าแหลมกลมแบบนกกา ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าอก ใต้ท้อง ใต้ปีก สีแดง ขนหาง หางพัด หางกะลวย สีแดง ก้านหางแดง ขนหลัง ขนสันหลัง สีแดงเข้มกว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย ขนคอเหนือขนหลัง แต่ปลายสร้อยขนจะมีขลิบ สีแดงเป็นมันตามเฉดสีตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตา สีแดงเหมือนตัวผู้
<












































ไก่